Hamutaro - Hamtaro 6

Sunday, September 6, 2015

ครั้งที่ 3


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วัน ฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558 เวลา 08:30-11:30


ความรู้ที่ได้รับ 


         การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก


ความสำคัญของภาษา 
1. ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3. ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4. ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย
 
1. การฟัง
 
2. การพูด
 
3. การอ่าน
 
4. การเขียน

องค์ประกอบของภาษา
    1. Phonology 
คือระบบเสียงของภาษา
เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
    2. Semantic
คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
คนกลาง
-คนที่นั่งระหว่างกลางโดยคนอื่นๆ นั่งขนาบข้าง
-ลูกคนที่อยู่ในลำดับกลางระหว่างพี่กับน้อง
-ผู้ถือความเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
-ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
-ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
3. Syntax
คือระบบไวยากรณ์

การเรียงรูปประโยค
 ตัวอย่าง เช่น 
ครูตีเด็ก  เด็กถูกครูตี
นกสีฟ้า  Blue Bird
แม่เกลียดคนใช้ฉัน   ฉันเกลียดคนใช้แม่

คนใช้เกลียดแม่ฉัน    แม่คนใช้เกลียดฉัน

ฉันเกลียดแม่คนใช้  แม่ฉันเกลียดคนใช้

วันนี้ต้องเรียนเร็วๆ  พรุ่งนี้ต้องตื่นไปนอนแต่เช้า
เฮ้ย ปล้นนะ นี่คือการหยุด  มีให้หมด ส่งมาเท่าไหร่
4. Pragmatic
คือระบบการนำไปใช้
ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย


      1.ระยะเปะปะ (Prelinguistic Stage) 
    •อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน 
    •เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ
    •ออกเสียง อ้อ – แอ้ 
    •เป็นช่วงที่ดีในการสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด 
    •เด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะมีพัฒนาทางภาษาที่ดี
  2.ระยะแยกแยะ (Jergon Stage)
อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี 
สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยิน 
พอใจที่ได้ส่งเสียง
ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาได้รับการตอบสนองในทางบวก เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก 
บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงคนที่พูดคุยด้วย
 3.ระยะเลียนแบบ (Imitation Stage)
อายุ 1 – 2 ปี 
เลียนเสียงต่าง ๆ ที่เด็กได้ยิน
เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไป 
พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา
ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ
ทำตามคำสั่งง่ายๆได้
  4. ระยะขยาย (The Stage of Expansion)
อายุ 2 – 4 ปี

   อายุ 2 ปี 
เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว
พูดเป็นคำ
รู้จักคำศัพท์ 150-300 คำ
เข้าใจสิ่งที่พูด 2 / 3
ใช้คำบอกตำแหน่ง
ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง
    อายุ 3 ปี 
พูดเป็นประโยคได้
รู้จักคำศัพท์ 900-1,000 คำ  เข้าใจสิ่งที่พูด 90%
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล
สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ
แสดงท่าทางเลียนแบบได้
รู้จักใช้คำถาม อะไร
สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
เข้าใจคำถามง่ายๆบอกเพศ ชื่อ อายุตัวเองได้
   อายุ 4 ปี
บอกชื่อสิ่งของในรูป
ใช้คำบุพบทได้
รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี
ชอบเล่าเรื่อง
ชอบพูดซ้ำๆ 
บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
สนทนาโต้ตอบ/เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
รู้จักใช้คำถาม ทำไม
 6.ระยะตอบสนอง (Responding Stage)
อายุ 5 – 6 ปี 
สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
รู้จักใช้คำถาม ทำไม” “อย่างไร
เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น 
สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว

  7.ระยะสร้างสรรค์ (Creative Stage)
อายุ 6 ปีขึ้นไป
เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม
ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น
สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

  1.วุฒิภาวะ
อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด 376 คำต่อวัน
อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน
ตัวอย่าง



  2.สิ่งแวดล้อม
บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ครู โรงเรียน
  3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
  4.การจัดชั้นเรียน
  5.การมีส่วนร่วม (Participation)



พัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัย

เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้องควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก


มาดูรูปภาพความหมายที่ผิดเพี้ยนกันนะคะ



ภาษาไทย  กับ ภาษาลาว  



ตัวอย่างการวาดภาพสิ่งของตัวเองรักสำหรับเด็กปฐมวัย





ภาพให้เด็กออกมาพูดถึงสิ่งของที่รัก



การเต้นพร้อยท่าประกอบ




เพลงใหม่ 5 เพลง 

การนำไปประยุกต์ใช้
       จะนำกิจกรรมของครูมาสอนเด็กๆและมาร้องเล่นดู เช่น การร้องเพลง การทำท่าประกอบกเพลง จะนำเพลงของคุณครูไปเก็บเสียงเด็กดู และการวาดภาพสิ่งของที่รัก วาดแล้ว ให้มาบอกความหมายกับสิ่งของที่รักทำไหมถึงรักสิ่งของนี้ และจะนำการเรียนการสอนของวันนี้ไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและจะต้องใช้กับเด็กอย่างไร


การประเมิน  

ประเมินตนเอง
         คิดว่าตัวเองไม่พร้อมในการเรียนมาก เพราะไม่ได้เตรียมเนื้อหาที่จะเรียนมา และตั้งใจครูอธิบายในฟังไม่ค่อยดี ไม่ตั้งใจมากพอสมควร ยังไม่ค่อยกล้าแสดงออกมามากพอ เพราะ อาย และกลัว เกินไป ยังขาดทักษะความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ครูสอน เป็นคนลืมง่าย ยังขาดประสบการณ์ ในการตอบ คำถามของครู  และ บางครั้งก็ง่วงนอน แต่พอมีกิจกรรมขั้นทำให้หายง่วงนอน และยังร้องเพลงไม่ค่อยถูกจังหวะไม่ถูกคีย์

ประเมินเพื่อน
         เพื่อนดูตั้งใจเรียน และสนุกสนานไปกับการเรียนและกิจกรรมของคุณครู เพื่อนอีกฝั่งดูร่าเริงแจ่มใสสนุกเฮฮา เพื่อนอีกฝั่งดูตั้งใจเรียนมาก เงียบเกินไป เวลามีกิจกรรมเพื่อนจะสนุก ทำให้เพื่อนในห้องไม่เงียบจนเกินไป ทำให้มีสีสัน และเพื่อนตอบคำถามได้ดี และกล้าแสดงออก เพื่อนมีประสบการณ์ดี มีความรู้รอบตัวเยอะ แต่แต่ละคนตอบคำถามครูได้ดีมาก 

ประเมินอาจารย์
        วันนี้อาจารย์มีตัวปั้มเช็คชื่อแบบน่ารัก วันนี้อาจารย์สอนสนุก เนื้อหาไม่เยอะมาก ชอบเวลามีกิจกรรมมาขั้น อาจารย์เอาสิ่งแปลกใหม่มาสอน อาจารย์มีกิจกรรมใหม่มาให้ทำไม่ซ้ำแต่ละอาทิตย์ ครูสอนท่าเต้นพร้อมเพลงประกอบของแต่ละเพลงได้น่ารัก น่าเรียนด้วย และยังให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ชอบ ทำให้รู้จักสิ่งของที่รัก







  

No comments:

Post a Comment